แม่และเด็ก      โรคหลอดเลือดสมองในเด็กแรกเกิด เสี่ยงเสียชีวิต



โรคหลอดเลือดสมองในเด็กแรกเกิด เสี่ยงเสียชีวิต




   
 




สาเหตุ


พบมากในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ซึ่งพบประมาณ 1 คนต่อทารกแรกเกิด 3,500 คน เกิดกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ที่สำคัญเด็กที่เป็นโรคเส้นเลือดสมองมีโอกาสเกิดซ้ำได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุดังนี้


1. ความผิดปกติแต่กำเนิด

2. การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง

3. โรคเลือด เช่น ฮีโมฟิเลีย ธาลัสซีเมีย เป็นต้น

4. โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

5. โรคเส้นเลือดในร่างกายผิดปกติแต่กำเนิด

6. โรคเมตาโบลิคผิดปกติแต่กำเนิด


อาการ

ความสำคัญของภาวะโรคหลอดเลือดสมอง คือหากเลือดไม่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองนานเกิน 3 นาที จะเกิดบาดเจ็บและเนื้อเยื่อสมองถูกทำลายได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการเบื้องต้นเหล่านี้ เพื่อพาลูกไปพบคุณหมอค่ะ


1. ปวดศีรษะเฉียบพลันและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

2. มองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นทันที

3. ปากเบี้ยวหรืออ่อนแรงบริเวณใบหน้า แขน ขา โดยเฉพาะซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย

4. พูดหรือกลืนลำบาก

5. เวียนศีรษะ บ้านหมุน ยืนทรงตัวไม่ได้ตามปกติ

6. หมดสติ ชัก


การวินิจฉัยโรคนี้ในเด็ก โดยเฉลี่ยประมาณ 20% วินิจฉัยได้ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยการชักประวัติจากทางครอบครัว และความร่วมมือในการตรวจร่างกายของเด็ก โรคนี้ในเด็กมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวของสมองดีกว่าในผู้ใหญ่ เนื่องจากสมองของเด็กยังมีการพัฒนาต่อเนื่อง รวมถึงซ่อมแซมตัวเองได้ดีกว่าด้วย


ระดับความรุนแรง สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. Ischemic stroke หรือภาวะสมองขาดเลือด ความรุนแรงของภาวะนี้ คือทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนต้นทางมีการตีบแคบลง หรือถูกอุดกั้นทำให้เลือดไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงสมองส่วนปลายได้ ตำแหน่งที่เป็นสาเหตุมักเป็นความผิดปกติจากหัวใจและหลอดเลือดบริเวณคอ

2. Hemorrhagic Stroke หรือเส้นเลือดสมองแตก มักเกิดจากการบาดเจ็บกับเส้นเลือดสมองโดยตรง เช่น จากอุบัติเหตุ หรือเส้นเลือดบริเวณนั้นผิดปกติ ทำให้มีเลือดมาไหลเวียนอยู่มาก และเปราะบางเสี่ยงแตกได้ง่ายกว่าคนปกติ รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นกลุ่มโรคเลือด เช่น ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น


การรักษาและป้องกัน

คุณหมอจะพิจารณาการให้ยาหรือผ่าตัด ขึ้นอยู่กับสาเหตุความรุนแรงของอาการขณะนั้น และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการที่สำคัญ ภาวะนี้ต้องอาศัยการรักษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ด้านด้วย


1. ใช้ยา คุณหมอจะให้ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือดในโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เป็นต้น


2. ผ่าตัด คุณหมอจะตัดสินใจผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการซึมหมดสติ และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ในสมอง


3. กายภาพบำบัด เนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยมีโอกาสหายและกลับมาใกล้เคืองกับปกติได้ ดังนั้นกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูสภาพทางร่างกาย และจิตใจผู้ป่วยด้วย









ข้อมูลhttp://baby.kapook.com

Copyrights © 2009 www.nisavariety.com All Rights Reserved.
counter