8 คำตอบที่คุณจะได้รับเมื่อบอกให้ลูกเก็บของเล่น
ตอนนี้ลูกคุณอายุเท่าไหร่แล้ว โตพอจะทำความสะอาดบ้าน หรือ เก็บข้าวของของตัวเองให้เป็นที่เป็นทางหรือไม่ ปกติ เราจะต้องสอนลูกให้เก็บของเล่นหรือของๆตัวเองตอนประมาณอายุ 18 เดือนขึ้นไป เพราะเด็กวัยนี้สามารถฟังคำสั่งง่ายๆและเข้าใจในคำสั่งได้แล้วนั่นเอง ถ้าเราเริ่มสอนลูกเร็วลูกจะชินกับการเก็บสิ่งของ แต่ถ้าเริ่มสอนตอนลูกโตแล้วจะกลายเป็นคำสั่งที่ลูกไม่อยากจะทำ เมื่อคุณสั่งให้ลูกทำความสะอาดหรือเก็บของเล่นคุณจะเจอกับพฤติกรรมหรือคำพูดแบบไหนบ้างนะ?
1. การต่อรอง “หนูขอเก็บของเล่น หลังกินข้าวเย็นได้ไหม ตอนนี้หนูเหนื่อยเหลือเกิน” นี่คือการต่อรอง และสุดท้ายก็ไม่เก็บ
2. รอก่อน “รอให้หนูทำตรงนี้ให้เสร็จก่อน รอให้หนูหายเหนื่อยก่อน รอก่อนเดี๋ยวหนูจะกลับมาเล่นอีก”
3. นิ่งเฉย ไม่เก็บ ไม่ทำ ไม่ปฏิเสธ ทำกิจกรรมอย่างอื่นต่อไปแบบมึนๆ สุดท้ายคุณแม่รำคาญขี้เกียจรอก็ต้องเก็บเองค่ะ
4. เดี๋ยวเก็บ สุดท้ายก็ไม่เก็บ ง่วงนอน ขึ้นห้องนอนไปแล้วค่ะ
5. เล่นอยู่ ถ้าลูกกำลังเล่นของหลายๆอย่างอยู่ อย่าเพิ่งให้ลูกเก็บของเข้าที่ เพราะลูกจะไม่ยอมเก็บของเล่นแน่ๆ เพราะเค้าจะรู้สึกว่ากำลังถูกขัดจังหวะนั้นเองค่ะ
6. ไม่ (ส่วนมากเป็นเด็กอายุประมาณ 2 ขวบที่พูดคำนี้)คุณจะเจอคำปฏิเสธทันที เพราะเป็นพัฒนาการของเด็กวัยนี้ค่ะ
7. ขอเล่นให้เสร็จก่อนแล้วจะเก็บ สัญญาว่าจะเก็บให้เรียบร้อยหลังเล่นเสร็จ หรือใช้งานเสร็จ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำค่ะ
8. มักขอสิ่งแลกเปลี่ยน เช่น ถ้าเก็บของแลกกับไอศกรีม หรือได้นั่งดูการ์ตูนเรื่องโปรด ถ้าเป็นสิ่งเหล่านี้ก็ควรให้ลูกได้ค่ะ ถือว่าเป็นข้อแลกเปลี่ยน ลูกจะได้เรียนรู้ว่าไม่มีอะไรที่จะได้มาอย่างง่ายๆด้วยค่ะ
ถ้าคุณแม่อยากให้ลูกรู้จักเก็บของเล่นหรือของใช้ของตัวเองให้เป็นระเบียบ มีความรับผิดชอบ ไม่ต้องให้คอยบอก คุณแม่ต้องสอนให้ลูกทำตั้งแต่เด็กๆค่ะ เพราะตอนเด็กลูกจะไม่ต่อต้าน ถ้าโตขึ้นมาหน่อยค่อยมาตกลงเงื่อนไขกับเรื่องนี้ หรือใช้สิ่งของไม่ฟุ่มเฟือยหลอกล่อไปก่อนค่ะ ลูกจะรู้สึกว่าชินและจะทำเองโดยไม่ต้องบอกอีกต่อไปค่ะ
ข้อมูลจาก http://www.maerakluke.com