|
แม่และเด็ก สังเกตท่านอนลูกน้อยบอกสัญญาณพัฒนาการได้ |
สังเกตท่านอนลูกน้อยบอกสัญญาณพัฒนาการได้ การนอนหลับในเด็กเล็กเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็กที่มีส่วนช่วยในด้านการเจริญเติบโตของพวกเขา จึงไม่แปลกที่ในวัยนี้จะมีการนอนหลับมากกว่าปกติ พ่อแม่จึงสังเกตได้ว่าเด็กทารกส่วนใหญ่จะตื่นขึ้นมาเพียงเพราะรู้สึกหิวนม หลังจากกินอิ่มแล้วก็จะนอนหลับไปอีก เป็วัฎจักรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าพวกเขาจะเติบโตมากขึ้น การนอนจึงเปรียบเสมือน 1 ใน 3 ของกิจวัตรประจำวันของพวกเขา ดังนั้นในขณะที่ลูกน้อยหลับพ่อแม่จะต้องหมั่นคอยให้พวกเขานอนหลับได้อย่างเต็มอิ่มเพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีในอนาคตต่อไป ท่านอนของลูกน้อยในแต่ละช่วงอายุยังมีสิ่งอัศจรรย์ที่พ่อแม่ส่วนใหญ่มองข้ามไป นั่นก็คือท่านอนสามารถเป็นสัญญาณบอกพัฒนาการเด็กของพวกเขาได้อย่างไม่น่าเชื่อ การเริ่มต้นเรียนรู้ของเด็กหลังการคลอดเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่จะสามารถทำให้เด็กเอาตัวรอดได้ในสังคม การจัดท่านอนให้เหมาะสมในช่วงวัยเหล่านี้จึงเป็นตัวกระตุ้นทำให้การเติบโตของร่างกายเป็นไปอย่างเหมาะสม เด็กบางรายที่พ่อแม่มีความเข้าใจในด้านนี้เป็นอย่างดี จะส่งผลให้เด็กสามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงแรกเกิดไปจนถึงอายุประมาณ 10 เดือน ท่านอนหลับจึงเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ซับซ้อน หากพ่อแม่ได้ลองเรียนรู้และนำมาปรับใช้กับการดูแลลูกน้อย ก็จะช่วยให้พวกเขาสามารถเติบโตขึ้นไปเป็นเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงได้นั่นเองค่ะ ท่านอนของเด็กในช่วงวัย 6 เดือนแรก พัฒนาการเด็กที่เกี่ยวข้องกับการนอน พ่อแม่สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ในช่วงแรกคลอดดังที่กล่าวเอาไว้ข้างต้น เพราะพวกเขาจะเริ่มเรียนรู้การสิ่งแวดล้อมรอบด้านได้ในทันทีที่คลอดออกมาเผชิญโลกใหม่ ท่านอนของลูกน้อยในช่วงวัยก่อน 6 เดือนจะเป็นช่วงที่มีความสำคัญและพ่อแม่จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เมื่อเด็กเริ่มมีอายุเข้าสู่ 3 เดือนแรก จะพบได้ว่าการนอนตะแคงข้างหรือนอนหงายจะเป็นท่าที่เหมาะสมที่สุดในช่วงเวลานี้ เป็นตัวกระตุ้นช่วยเสริมทักษะทางด้านการมองเห็น โดยเฉพาะการนอนหงายที่จะช่วยประคองศรีษะซึ่งยังมีกระดูดต้นคอที่อ่อนแออยู่ให้สามารถหันซ้ายขวาได้ง่ายขึ้น ซึ่งช่วยให้เด็กสามารถควบคุมทิศทางการจับสัมผัสสิ่งรอบด้านได้ง่ายขึ้น ส่วนการนอนตะแคงจะกระตุ้นพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง และยังทำให้เด็กมองเห็นในทิศทางที่แตกต่างออกไป ช่วยให้เกิดการวิเคราะห์ทางสมองและเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่จากการมองเห็นได้มากขึ้น นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือต้องระมัดระวังอย่าให้ลูกน้อยนอนคว่ำอยู่บ่อยๆ หรือหากนอนได้บ้างก็เป็นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 5-10 นาที โดยที่พ่อแม่จะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะการนอนในท่านี้มีความเสี่ยงอันตรายที่อาจจะทำให้เด็กหายใจไม่ออก ระบบทางเดินหายใจทำงานผิดปกติและอาจตามมาด้วยการเสียชีวิตเอาได้ ทั้งนี้การนอนคว่ำยังไม่ส่งผลประโยชน์ที่ดีนักให้แก่เด็ก ทำให้การมองเห็นถูกจำกัดและยังไปกดทับการทำงานของหัวใจให้ทำงานได้ไม่เต็มที่อีกด้วย เมื่อลูกน้อยเริ่มพัฒนาเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไปจนถึง 6 เดือนของการเจริญเติบโต ในช่วงนี้กล้ามเนื้อต่างๆ จะเริ่มทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะส่วนของกล้ามเนื้อต้นคอ สังเกตได้ว่าเด็กจะควบคุมการเคลื่อนไหวของศรีษะ ยกขึ้นสูงกว่าเดิมได้ง่าย ช่วยให้ทิศทางการมองเห็นของพวกเขาทำได้กว้างขึ้น ในช่วงอายุนี้ท่านอนคว่ำจะกลายเป็นท่าที่มีประโยชน์สำหรับเด็กมากกว่า และมีความจำเป็นที่พ่อแม่ต้องจับพวกเขาให้ลองนอนคว่ำดูบ้าง แต่อย่างไรก็ต้องขอเน้นย้ำว่าให้อยู่ในความดูแลของพ่อแม่อย่างใกล้ชิดเช่นเดิม เนื่องจากการนอนคว่ำจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย ทำให้ด็กพยายามใช้กล้ามเนื้อแขนและขาพยุงตัวขึ้น โดยเฉพาะส่วนของต้นคอ ทางที่ดีเพื่อความปลอดภัยของพวกเขาควรจัดที่นอนให้มีความนุ่มแบบปานกลาง ไม่แข็งหรือนิ่มมากเกินไปจนยุบเพราะจะทำให้เด็กขาดอากาศหายใจหากพวกเขาก้มหน้าลงไปฟุบกับที่นอนในบางช่วงขณะที่พ่อแม่เผลอเรอ ท่านอนและการเจริญเติบโตที่มากขึ้นของเด็กอายุหลัง 6 ปีขึ้นไป ในช่วงนี้ลูกน้อยจะเริ่มมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงมากขึ้น ทั้งส่วนของกล้ามเนื้อ กระดูต้นคอ แขนและขา เด็กจะสามารถพลิกตัวได้เอง สามารถนอนตะแคง คว่ำหน้าหรือนอนหงาย การเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกายจะมีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน พัฒนาการเด็กในช่วงนี้จะบ่งบอกถึงความสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงการทำงานของสมอง ทักษะทางการมองเห้นแบบรอบทิศทางได้มากขึ้น พวกเขาจะสังเกตเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ระหว่างการขยับตัวเปลี่ยนท่าทาง ทักษะทั้งหมดสามารถที่จะเรียนรู้ได้ผ่านท่านอนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงอายุ โดยที่พ่อและแม่เปรียบเสมือนผู้ช่วยส่งเสริมให้พวเขาได้รับการกระตุ้น โดยพยายามคอยสังเกตลูกน้อย จับพวกเขาพลิกตัวในท่าต่างๆ อยู่เสมอ เพียงเท่านี้การกระตุ้นทักษะการเรียนรู้ต่างๆ ด้วยท่านอนก็จะสามารถช่วยเป็นอีกหนึ่งแรงของการเรียนรู้ที่ดีให้กับพวกเขาได้ เมื่อทราบดังนี้แล้ว พ่อแม่มือใหม่ทั้งหลายก็อย่าลืมหันมาใส่ใจกับท่านอนของลูกน้อยที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพัฒนาการ เพื่อเป็นตัวช่วยเสริมสร้างทักษะทั้งด้านร่างกายและสมองให้ลูกน้อยได้เติบโตขึ้นเป็นเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงได้อย่างเต็มที่นั่นเองค่ะ |
|
|
|
|
Copyrights © 2009 www.nisavariety.com All Rights Reserved. |
|
|
|