ข่าว นิสา      กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ OTOP ยกระดับสู่มาตรฐาน มผช. และ อย.

 

กรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ OTOP ยกระดับสู่มาตรฐาน มผช. และ อย.

เพิ่มรายได้ผู้ประกอบการ และก้าวเป็นผลิตสินค้าระดับประเทศและระดับอาเซียน




ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP อาหารและเครื่องดื่มตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี ในการผลิตพื้นที่ภาคกลาง (สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมาณ 100 ราย มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา นำโดย ดร.รัตนา ปานเรือนแสน เป็นที่ปรึกษาโครงการ ณ โรงแรมเมธาวลัย จ.เพชรบุรี วันที่ 27 มีนาคม 2560




ดร.สุทธิเวช ต.แสงอนันต์
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ


อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการบางส่วนมีปัญหาการผลิต หรือการแปรรูปอาหารที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งมีปัญหาจากวัตถุดิบ หรือสถานที่ผลิตไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ผู้ประกอบการไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะไม่มีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาที่ดี โครงการนี้ต้องการต่อยอดผู้ประกอบการ OTOP ให้สามารถพัฒนาคุณภาพผลิตสินค้า ด้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสมุนไพร ให้ผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

“ในการฝึกอบรมมีอาจารย์จาก ม.ราชภัฎสวนสุนันทา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ให้การอบรม ให้คำปรึกษา ในกระบวนการการผลิตทั้งหมด และจะนำผลิตภัณฑ์ไปเข้าห้องแลบของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อดูว่า ไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานของอย. จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้ารับการอบรมได้รับการยอมรับ สามารถจำหน่ายสินค้าได้ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ” ดร.สิทธิเวช กล่าว




ดร.รัตนา ปานเรือนแสน
ที่ปรึกษาโครงการ


อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เริ่มโครงการพัฒนาผู้ประกอบการมาตั้งแต่ปี 2556 มีผู้ผ่านการอบรมประมาณ 400 รายต่อปี ซึ่งถือว่า น้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นปีละ 200,000 ราย


เนื่องจากมีปัญหาเรื่องงบประมาณ ได้พยายามประสานกับทางจังหวัดเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่แต่ส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญ มีบางจังหวัดที่ให้ความสำคัญและมีการดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จ อาทิ จ.ระนอง

ดร.สุทธิเวช กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นเสาหลักในการให้บริการการสร้างมาตรฐานการผลิตสินค้าชุมชน เพื่อสร้างผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง สามารถก้าวสู่ระดับประเทศ สู่ระดับอาเซียนและระดับโลกต่อไป




www.nisavariety.com




Copyrights © 2009 www.nisavariety.com All Rights Reserved.
counter